กลูต้าไธโอน คืออะไร?
กลูต้าไธโอน (Glutathione) คือสารประกอบประเภทโปรตีนที่พบได้ในร่างกายทุกเซลล์ โดยเฉพาะในตับ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระและสารพิษ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รวมถึงการทำลายสารพิษในร่างกาย
กลูต้าไธโอนประกอบด้วยอะไรบ้าง?
กลูต้าไธโอน (Glutathione) เป็นสารที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยสารนี้มีส่วนประกอบหลักจากกรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่
- กลูตามีน (Glutamine) กรดอะมิโนที่มีบทบาทในการเสริมสร้างโปรตีนและสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน
- ซิสเตอีน (Cysteine) กรดอะมิโนที่มีธาตุกำมะถัน ช่วยในการสร้างโปรตีนและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดสารพิษ
- ไกลซีน (Glycine) กรดอะมิโนที่ช่วยให้ร่างกายสร้างโปรตีนและมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างกลูต้าไธโอน
หลักการทำงานของกลูต้าไธโอน
กลูต้าไธโอนทำงานโดยการลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก เช่น รังสียูวี มลพิษ และสารเคมีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยในกระบวนการขับสารพิษของตับ โดยเฉพาะสารพิษที่ละลายในไขมัน เช่น ยา สารพิษจากสิ่งแวดล้อม และสารเคมีที่เป็นอันตราย
อีกหนึ่งคุณสมบัติที่นิยมพูดถึงกันคือการยับยั้งการผลิตเม็ดสีเมลานินในผิวหนัง ซึ่งส่งผลให้ผิวดูขาวขึ้น โดยกระบวนการนี้เกิดจากการที่กลูต้าไธโอนลดการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ที่มีส่วนในการสร้างเมลานิน กลูต้าไธโอนยังมีบทบาทในกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยเสริมสร้างเซลล์ใหม่เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย
ประโยชน์ของกลูตาไธโอนต่อร่างกายของเรา
Antioxidant กลูตาไธโอน จะถูกเปลี่ยน เป็นเอนไซม์ glutathione peroxidase มีคุณสมบัติ เป็นสาร antioxidant ที่สำคัญของร่างกาย ทำงานร่วมกับ วิตามินซีและอี กลูต้าไธโอนยังช่วยป้องกันเซลล์ระบบประสาทไม่ให้เกิดภาวะเสื่อมมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันเนื้อเยื่อของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ไม่ให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระได้อีกด้วย
ดีท็อกซ์ กลูตาไธโอน มีคุณสมบัติที่สามารถกำจัดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อตับ รวมไปถึงช่วยขับสารพิษที่เป็นโลหะหนัก หรือสารพิษไม่ละลายน้ำ ให้สามารถละลายน้ำได้ดีขึ้น และขับออกมาได้ง่ายขึ้น
เสริมระบบภูมิคุ้มกัน กลูตาไธโอน เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวให้มีประสิทธิภาพ และมีปริมาณมากขึ้น เพื่อคอยดักจับและต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่แทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดการเจ็บป่วย รวมไปถึงเซลล์มะเร็งด้วย
ดูแลผิว ปรับผิวกระจ่างใส มีการศึกษา และค้นคว้าอย่างจริงจังจนพบว่า กลูตา สามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ที่สร้างเมลานิน หรือเม็ดสีผิวชนิดเข้มลดลง ทำให้โทนสีผิวกระจ่างใสขึ้น
กลูต้าไธโอนจากธรรมชาติ พบได้ที่ไหนบ้าง ?
จริง ๆ แล้วเราสามารถเลือกกินอาหารจากธรรมชาติที่มีกลูต้าไธโอนได้ โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองจนเกินไป โดยเลือกรับประทานอาหารดังต่อไปนี้
- ผัก : บร็อกโคลี่, ผักโขม, เห็ด, มะเขือเทศ, หน่อไม้ฝรั่ง
- เนื้อสัตว์ : ปลาแซลมอน, เนื้อวัว, เนื้อหมู
- ถั่ว : ถั่วลันเตา, ถั่วเหลือง
- ผลไม้ : สตรอเบอร์รี่, ส้ม, เกรปฟรุ้ต, แอปเปิ้ล, องุ่น, แตงโม, อะโวคาโด
กลูต้าไธโอน ดูดซึมในทางเดินอาหารได้น้อยมาก ควรกิน อะมิโนแอชิด เอ็นอะซิทิลซิสเตอีน (N-acetyl-cysteine) เพื่อไปเพิ่ม glutathione เพราะดูดซึมง่าย และเป็น Glutathione Precursors จะไปรวมตัวกับโปรตีนอีก 2 ชนิด คือ อะมิโนแอชิดไกลซิน (Glycine) และ กลูตาเมท (Glutamate) เป็นโมเลกุลกลูตาไธโอน ในกระแสเลือด
ผลข้างเคียงจากการใช้กลูตาไธโอน
แม้ว่ากลูต้าไธโอนจะมีประโยชน์มากมาย แต่การใช้หรือบริโภคในปริมาณที่ไม่เหมาะสม หรือเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้
- อาการแพ้ : บางคนอาจมีอาการแพ้ต่อกลูต้าไธโอน เช่น ผื่นคัน ลมพิษ หรือหายใจลำบาก ควรหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์ทันที หากมีอาการดังกล่าว
- ปัญหาทางเดินอาหาร : การรับประทานกลูต้าไธโอน ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียได้
- ผลกระทบต่อตับและไต : การใช้กลูต้าไธโอนเป็นเวลานาน และในปริมาณที่สูง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำงานของตับ และไตผิดปกติ ควรใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับหรือไต
- ผลกระทบต่อการสร้างเม็ดสี : การลดการผลิตเมลานินอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกิดความไวต่อแสงแดดและเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกแดดเผา หรือเกิดมะเร็งผิวหนังได้
สรุป
กลูตาไธโอน เป็นสารที่มีอยู่แล้วในร่างกาย และมีความสำคัญต่อกระบวนการต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นสาร ต้านออกซิเดชันที่ใช้ในการรักษาเสริมสำหรับโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคจิตเภท โรคเอดส์ โรคสมองเสื่อม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ กลูตาไธโอน หรือสารอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์เพิ่มระดับกลูตาไธโอนในร่างกาย โดยไม่จ้ำเป็นเพราะอาจจะเกิดอันตรายได้ ดังนั้นนก่อนจะใช้กลูตาไธโอน หรือสารอื่น ๆ ควรศึกษา ทั้งข้อดี ข้อเสีย รวมถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น เพื่อประเมินความปลอดภัย และพิจารณาความจำเป็นในการใช้เสียก่อน