PLA (Polylactic Acid) คืออะไร?
PLA (Polylactic Acid) จัดอยู่ในกลุ่ม Polymeric Biodegradable คือสารที่สามารถย่อยสลายได้เองในร่างกายโดยไม่ตกค้าง เป็นสารที่ใช้ในการแพทย์และความงาม ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตคอลลาเจนขึ้นมาเอง ส่งผลให้ผิวดูกระชับ อิ่มฟู และลดริ้วรอยแห่งวัย จัดเป็น Biostimulator หรือสารกระตุ้นคอลลาเจนที่มีกรดโพลีแล็กติกเป็นส่วนประกอบ เป็นโพลิเมอร์ที่สามารถมีได้ทั้งรูปแบบ L และ D form หรือทั้งสอง D, L form (PDLLA) ก็ได้เช่นกัน

PLLA (Poly-L-Lactic Acid) คืออะไร?
PLLA เป็นไอโซเมอร์ของ PLA ที่อยู่ในรูปแบบ L form ใช้กันมานานในทางการแพทย์ สามารถย่อยสลายได้ในร่างกาย ใช้ผลิตไหมละลาย เป็นน็อต หรือ แผ่นเพลท ที่ใช้ในการยึดกระดูกด้วย และสารตัวนี้ผ่านการอนุมัติให้ใช้งานได้ทั่วโลกจึงมั่นใจได้ว่าไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและผิวหนังมนุษย์
หลังจากฉีดสาร PLLA ลงสู่ชั้นผิวจะเข้าไปเพิ่มปริมาณเซลล์ fibroblast ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของคอลลาเจนและสร้างความแข็งแรงให้โครงสร้างผิว นอกจากนี้สาร PLLA จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็น Lactic acid กระตุ้นขบวนการสังเคราะห์เส้นใยคอลลาเจน ผ่านการเรียกเม็ดเลือดขาว(Macrophage) เมื่อเวลาผ่านไป PLLA จะค่อยๆเสื่อมสลายไป แต่การสะสมและการสร้างคอลลาเจนจะยังคงอยู่ จึงสามารถช่วยลดเลือนริ้วรอยได้อย่างยาวนานถึง 2 ปี
PLA vs PLLA แตกต่างกันอย่างไร?
PLA (Poly-Lactic Acid) และ PLLA (Poly-L-Lactic Acid) เป็นสารที่ใช้ในวงการความงาม ในฐานะสารกระตุ้นคอลลาเจน (Biostimulator) ช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง แม้ว่าทั้งสองชนิดจะมีโครงสร้างพื้นฐานใกล้เคียงกัน แต่ก็มีข้อแตกต่างกัน ดังนี้
PLA (Poly-Lactic Acid)
ลักษณะทางเคมี
- เป็นโพลิเมอร์ที่สามารถมีได้ทั้งรูปแบบ L form และ D form หรือเป็นการรวมกันของทั้งสองอย่าง D,L form (PDLLA)
- สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable)
- ถูกนำมาใช้ทั้งในวงการแพทย์ ความงาม และอุตสาหกรรม
ข้อดี
- มีความปลอดภัยสูง และสามารถย่อยสลายได้เองในร่างกาย
- มีคุณสมบัติเป็น Biocompatible ซึ่งหมายความว่าเข้ากับร่างกายได้ดี โดยไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาแปลกปลอมที่มากเกินไป
ข้อเสีย
- มีอายุการอยู่ในร่างกายสั้นกว่า PLLA
- ผลลัพธ์คงอยู่ไม่ได้นานเท่า PLLA ในกรณีของการกระตุ้นสร้างคอลลาเจน
PLLA (Poly-L-Lactic Acid)
ลักษณะทางเคมี
- เป็นไอโซเมอร์ของ PLA ที่อยู่ในรูปแบบ L form
- โครงสร้างเป็นผลึกมากกว่า ทำให้การสลายตัวช้ากว่า PLA
- กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ดีกว่า PLA
ข้อดี
- อยู่ในร่างกายได้นาน โดยทั่วไปประมาณ 2 ปี
- กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ให้ผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาติมากกว่าฟิลเลอร์
ข้อเสีย
- ต้องใช้เวลาในการเห็นผล เนื่องจากต้องอาศัยกระบวนการกระตุ้นคอลลาเจนของร่างกาย
- อาจเกิดผลข้างเคียงเช่น ก้อนนูนใต้ผิวหนัง หากฉีดผิดชั้นผิว หรือการดูแลหลังฉีดไม่ดีพอ
สรุปความแตกต่างระหว่าง PLA และ PLLA และควรเลือกใช้ตัวไหนดี?
คุณสมบัติ | PLA | PLLA |
---|---|---|
โครงสร้างทางเคมี | มีได้ทั้ง L form และ D form | มีเฉพาะ L form |
การกระตุ้นคอลลาเจน | น้อยกว่า PLLA | กระตุ้นคอลลาเจนได้ดีกว่า PLA |
อายุการอยู่ในร่างกาย | ค่อนข้างสั้นกว่า PLLA | อยู่ได้นานถึง 2 ปี |
PLA vs PLLA เลือกใช้ตัวไหนดี?
จากข้อมูลบื้องต้น ให้ข้อสรุปในการเลือกใช้ PLA และ PLLA ได้ ดังนี้
- หากต้องการผลลัพธ์ระยะสั้นและมีการสลายตัวเร็ว PLA อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม
- หากต้องการกระตุ้นคอลลาเจนระยะยาว PLLA จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า โดยเฉพาะในกรณีของผู้ที่ต้องการฟื้นฟูโครงสร้างผิวและได้ผิวที่ยกกระชับอย่างเป็นธรรมชาติ
PLA vs PLLA เหมาะกับใคร?
- ผู้ที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ผิวจะค่อยๆดีขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ หลังฉีด 2-3 สัปดาห์ และผลลัพธ์อยู่ได้นานถึง 2 ปี
- ผู้ที่เข้าสู่วัยที่เริ่มสูญเสียคอลลาเจน อายุเกิน 35 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีปัญหาใบหน้าหย่อนคล้อย สูญเสีย volume ไป เช่นร่องลึกใต้ตา ร่องแก้ม ร่องน้ำหมาก ขมับ เป็นต้น
- ผู้ที่เริ่มมีปัญหาการสูญเสียคอลลาเจน ผิวขาดความยืดหยุ่น ไม่กระชับ มีริ้วรอย
- ผู้ที่ต้องการให้ผิวแข็งแรง กระจ่างใส อ่อนเยาว์
- ผู้ที่มีปัญหาหน้าแห้ง ผิวหยาบกร้าน
- ผู้ที่ต้องการวิธีที่ช่วยกระตุ้นคอลลาเจน อยากให้ผิวอิ่มฟูขึ้น
PLA vs PLLA ไม่เหมาะกับใคร?
- ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี
- ไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนทันที การเปลี่ยนแปลงจะอยู่ในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป
- สตรีตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
- ผู้ที่ทานยากดภูมิคุ้มกัน
- ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้สาร Poly-L-lactic acid (PLLA), Polylactic acid (PLA)
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune, SLE)
- ผู้ที่มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง
- ผู้ที่ได้รับประทานยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น Aspirin , Warfarin
สรุปบทความ
สารกระตุ้นคอลลาเจน PLLA มีความสามารถในการกระตุ้นคอลลาเจนได้ดีกว่าและคงอยู่ได้นานกว่า PLA แต่ต้องใช้เวลาในการกระตุ้นสร้างคอลลาเจนตามธรรมชาติของร่างกายแบบค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่ PLA ออกฤทธิ์เร็วกว่าแต่ผลลัพธ์อยู่ได้ไม่นานเท่า ดังนั้นการเลือกใช้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล และควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจ
ค้นหาคลินิกที่ใช้ผลิตภัณฑ์